วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21


@ ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21



ในฐานะผู้คลั่งไคล้หนังสือ “ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21” เล่มนี้ สื่อสาระสำคัญยิ่งของการศึกษายุคใหม่ ที่แตกต่างไปจากแนวคิดเดิมๆ โดยสิ้นเชิง นักการศึกษา ครู พ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้สนใจคุณภาพของการศึกษาทุกคนควรได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาไทยออกไปจากความเชื่อหรือวิธีคิดเก่าๆ ให้การเรียนรู้ในสังคมไทยบรรลุการเรียนรู้ทักษะสำหรับมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ให้จงได้
ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช
ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)
และรองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล
การปฏิรูปการศึกษาที่แท้ควรปฏิรูปกระบวนทัศน์ด้วย ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ “กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้” และ “ครูมิใช่ผู้มอบความรู้” แต่เป็น “ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กและเยาวชน”
เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ตัวความรู้อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาลเกินกว่าที่จะมอบให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ อีกทั้งนักเรียนในศตวรรษใหม่มีหนทางค้นหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกหนแห่งทั้งในสิ่งแวดล้อมและอินเทอร์เน็ต
หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับกระบวนทัศน์เดิม คือมอบความรู้เป็นรายวิชาก็จะไม่ทันสถานการณ์โลก ที่ควรทำคือมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้อะไรบ้างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน แต่ที่ทุกคนควรมีคือความสามารถในการเรียนรู้ตลอดเวลา ตลอดชีวิตและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
ที่มา http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills/





@ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 




 ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง
         ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21
        หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21      ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4Cซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
  • 4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 
       แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คืออย่างไร คลิกเพื่ออ่านต่อและดาวน์โหลดเอกสารที่นี่
       นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือเซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป  ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  (Changing Education Paradigms)โดย เซอร์เคน โรบินสัน 
         กรอบแนวคิดข้างต้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตใหม่ในประเทศไทยและท่านที่ริเริ่มและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันได้แก่ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช โดยท่านได้เขียนลงบล็อก  http://www.gotoknow.org อยู่เป็นประจำ รวมถึงได้เขียนหนังสือออกมาชื่อว่า
วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
(สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf)
หรือชมวีดีทัศน์  "วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21" โดย ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช